Feb 14, 20211 min readFAT vs SUGAR: WHAT IS WORSE?ไขมัน VS น้ำตาล อะไรแย่ต่อสุขภาพมากกว่ากัน เมื่อความคิดที่ว่า “อยากจะลดน้ำหนัก” แล่นเข้ามาในหัว อันดับแรก ๆ ที่หลาย ๆ คนนึกออก คือการลดการรับประทานอาหารทอด อาหารมัน เพราะมีไขมันสูงหรือบางคนอาจคิดว่า ต้องลดเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมนมเนยต่าง ๆ สิถึงจะได้ผล ว่าแต่… จริง ๆ แล้ว ไขมัน หรือ น้ำตาล ที่ทำร้ายร่างกายเรามากกว่ากันนะ ?Kate Patton, RD, LD นักกำหนดอาหารจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (The American Heart Association หรือ AHA) ระบุว่า“ทั้งไขมัน และน้ำตาลไม่ดีต่อร่างกายทั้งคู่ แต่เราพูดถึงแต่ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และน้ำตาลส่วนที่เติมเพิ่มลงไปเท่านั้นนะข้อนี้อาจทำให้เกิดความสับสนในหลาย ๆ คนได้”ไขมันที่ “ไม่ดี” ต่อร่างกายไขมันอิ่มตัว (Saturated fats) และไขมันทรานส์ (Trans fats) เป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย เพราะทำให้มีปริมาณไขมันเลว(LDL) และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกายมากขึ้น แถมยังเข้าไปลดปริมาณไขมันดี (HDL) ให้น้อยลงอีกด้วย ส่งผลให้ภายในร่างกายเกิดการอักเสบและพัฒนากลายเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด และหัวใจได้ไขมันอิ่มตัว พบได้มากในไขมันจากสัตว์ และพืชบางชนิดอย่าง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์มส่วนไขมันทรานส์ คือ ไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ด้วยการเติม ไฮโดรเจนทำให้ได้นำมันหรือไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้นสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานรสชาติใกล้เคียงกับไขมันสัตว์แต่จะมีราคาถูกกว่า พบได้ในอาหาร และขนมสำเร็จรูป รวมถึงขนมอบ เบเกอรี่ต่าง ๆ เช่น มันฝรั่งทอด อาหารทอดเบเกอรี่ที่ใช้มาการีนพิซซ่าแช่แข็ง ฯลฯหากต้องการลดปริมาณคอเลวเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกาย ควรลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงให้น้อยกว่า 5-6% ของจำนวนแคลอรี่ที่บริโภคทั้งหมดต่อวันแต่สำหรับไขมันทรานส์ ยังไม่มีปริมาณที่พิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยมากพอที่จะบริโภคได้ เพราะไขมันทรานส์ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นดังนั้นหากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลี่ยงให้ได้มากที่สุดไขมันที่ “ดี” ต่อร่างกายไม่ใช่ว่าไขมันจะไม่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเลย เพราะไขมันที่ดีต่อร่างกาย คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(Monounsaturated and polyunsaturated fats) หากสามารถลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว และทดแทนด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนได้ จะสามารถลดอัตราความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว สามารถพบได้ใน น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า อะโวคาโด และถั่วต่าง ๆส่วนไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน สามารถพบได้ในอาหารที่มีโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 โดยโอเมก้า-3 เป็นไขมันดีที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เองจึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มีประโยชน์ช่วยลดอาการอักเสบ และลดความเสี่ยงของอาการเลือดอุดตันได้พบได้ในปลาทะเลที่มีไขมันตามธรรมชาติ เช่น แซลมอน ซาร์ดีน รวมถึงธัญพืชอย่างถั่ววอลนัท และเมล็ดแฟล็กซ์Advertisementโอเมก้า-6 ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ และใยประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย สามารถพบได้ในถั่วเหลือง มะพร้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวันและน้ำมันเมล็ดคำฝอยน้ำตาลที่ “ไม่ดี” ต่อร่างกายแม้ว่าน้ำตาลจะเป็นสิ่งที่ตำเป็นต่อร่างกาย เพราะช่วยให้พลังงานได้ดีทั้งยามฉุกเฉิน และในการเก็บสำรองพลังงานไว้ใช้ในเวลาจำเป็นแต่ไม่ใช่น้ำตาลทุกชนิดที่จะมีประโยชน์ น้ำตาลฟรุคโตสที่ได้จากผลไม้ และน้ำตาลแล็กโตสที่พบได้ในนมสดยังสามารถเลือกรับประทานได้อย่างปลอดภัย ภายใต้การควบคุมปริมาณอย่างจำกัดแต่สิ่งที่อยากให้หลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด คือน้ำตาลที่เพิ่มเติมเข้าไปเอง (added sugar) ส่วนใหญ่แล้วน้ำตาลประเภทนี้ (มักพบเป็นน้ำตาลซูโครส)ไม่ได้เป็นน้ำตาลที่มาตามอาหารจากธรรมชาติ แต่เป็นน้ำตาลที่เติมเพิ่มเข้ามาเพื่อให้รสชาติที่ดียิ่งขึ้น หวานขึ้น สามารถเจอน้ำตาลประเภทนี้ได้ในขนมต่าง ๆเช่น ลูกอม ขนมขบเคี้ยว คุกกี้ ไอศกรีม และยังเป็นส่วนผสมที่ใส่ในอาหารอีกหลายชนิด ทั้งขนมปัง ซีเรียล และซอสมะเขือเทศเมื่ออาหารหลากหลายอย่างมีการพบน้ำตาลที่ใส่เพิ่มเติมเข้าไป อาจทำให้เราบริโภคน้ำตาลเกินความจำเป็นในแต่ละวันโดยไม่รู้ตัว“การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน และเบาหวานได้” Kate Patton RD, LD นักกำหนดอาหารจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกากล่าวเสริมผู้หญิง ควรบริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 100 แคลอรี่ (ุ6 ช้อนชา หรือ 25 กรัม) ต่อวันผู้ชาย ควรบริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 150 แคลอรี่ (9 ช้อนชา หรือ 36 กรัม) ต่อวันไขมัน VS น้ำตาล อะไรแย่ต่อสุขภาพมากกว่ากัน ?คำตอบคือ ไม่ว่าจะเป็นไขมัน หรือน้ำตาล หากรับประทานในส่วนที่เป็นไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และน้ำตาลที่เติมเพิ่มเพื่อเสริมรสชาติล้วนแล้วแต่ไม่ดีต่อร่างกายด้วยกันทั้งคู่นอกจากนี้ลองสังเกตบนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี เพราะอาหารที่เขียนว่า ไขมันต่ำ (low fat) อาจมีน้ำตาลเพิ่มเติมสูง หรืออาหารที่มีน้ำตาลต่ำ (low sugar)อาจพบว่ามีไขมันอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์สูงได้ ดังนั้นควรสังเกตฉลากบรรจุภัณฑ์ให้ดี เพื่อเลือกอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลที่ไม่ดีต่อร่างกายให้ต่ำเข้าไว้แค่นี้ก็จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ง่าย ๆ แล้วล่ะ
ไขมัน VS น้ำตาล อะไรแย่ต่อสุขภาพมากกว่ากัน เมื่อความคิดที่ว่า “อยากจะลดน้ำหนัก” แล่นเข้ามาในหัว อันดับแรก ๆ ที่หลาย ๆ คนนึกออก คือการลดการรับประทานอาหารทอด อาหารมัน เพราะมีไขมันสูงหรือบางคนอาจคิดว่า ต้องลดเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมนมเนยต่าง ๆ สิถึงจะได้ผล ว่าแต่… จริง ๆ แล้ว ไขมัน หรือ น้ำตาล ที่ทำร้ายร่างกายเรามากกว่ากันนะ ?Kate Patton, RD, LD นักกำหนดอาหารจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (The American Heart Association หรือ AHA) ระบุว่า“ทั้งไขมัน และน้ำตาลไม่ดีต่อร่างกายทั้งคู่ แต่เราพูดถึงแต่ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และน้ำตาลส่วนที่เติมเพิ่มลงไปเท่านั้นนะข้อนี้อาจทำให้เกิดความสับสนในหลาย ๆ คนได้”ไขมันที่ “ไม่ดี” ต่อร่างกายไขมันอิ่มตัว (Saturated fats) และไขมันทรานส์ (Trans fats) เป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย เพราะทำให้มีปริมาณไขมันเลว(LDL) และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกายมากขึ้น แถมยังเข้าไปลดปริมาณไขมันดี (HDL) ให้น้อยลงอีกด้วย ส่งผลให้ภายในร่างกายเกิดการอักเสบและพัฒนากลายเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด และหัวใจได้ไขมันอิ่มตัว พบได้มากในไขมันจากสัตว์ และพืชบางชนิดอย่าง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์มส่วนไขมันทรานส์ คือ ไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ด้วยการเติม ไฮโดรเจนทำให้ได้นำมันหรือไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้นสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานรสชาติใกล้เคียงกับไขมันสัตว์แต่จะมีราคาถูกกว่า พบได้ในอาหาร และขนมสำเร็จรูป รวมถึงขนมอบ เบเกอรี่ต่าง ๆ เช่น มันฝรั่งทอด อาหารทอดเบเกอรี่ที่ใช้มาการีนพิซซ่าแช่แข็ง ฯลฯหากต้องการลดปริมาณคอเลวเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกาย ควรลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงให้น้อยกว่า 5-6% ของจำนวนแคลอรี่ที่บริโภคทั้งหมดต่อวันแต่สำหรับไขมันทรานส์ ยังไม่มีปริมาณที่พิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยมากพอที่จะบริโภคได้ เพราะไขมันทรานส์ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นดังนั้นหากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลี่ยงให้ได้มากที่สุดไขมันที่ “ดี” ต่อร่างกายไม่ใช่ว่าไขมันจะไม่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเลย เพราะไขมันที่ดีต่อร่างกาย คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(Monounsaturated and polyunsaturated fats) หากสามารถลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว และทดแทนด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนได้ จะสามารถลดอัตราความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว สามารถพบได้ใน น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า อะโวคาโด และถั่วต่าง ๆส่วนไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน สามารถพบได้ในอาหารที่มีโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 โดยโอเมก้า-3 เป็นไขมันดีที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เองจึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มีประโยชน์ช่วยลดอาการอักเสบ และลดความเสี่ยงของอาการเลือดอุดตันได้พบได้ในปลาทะเลที่มีไขมันตามธรรมชาติ เช่น แซลมอน ซาร์ดีน รวมถึงธัญพืชอย่างถั่ววอลนัท และเมล็ดแฟล็กซ์Advertisementโอเมก้า-6 ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ และใยประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย สามารถพบได้ในถั่วเหลือง มะพร้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวันและน้ำมันเมล็ดคำฝอยน้ำตาลที่ “ไม่ดี” ต่อร่างกายแม้ว่าน้ำตาลจะเป็นสิ่งที่ตำเป็นต่อร่างกาย เพราะช่วยให้พลังงานได้ดีทั้งยามฉุกเฉิน และในการเก็บสำรองพลังงานไว้ใช้ในเวลาจำเป็นแต่ไม่ใช่น้ำตาลทุกชนิดที่จะมีประโยชน์ น้ำตาลฟรุคโตสที่ได้จากผลไม้ และน้ำตาลแล็กโตสที่พบได้ในนมสดยังสามารถเลือกรับประทานได้อย่างปลอดภัย ภายใต้การควบคุมปริมาณอย่างจำกัดแต่สิ่งที่อยากให้หลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด คือน้ำตาลที่เพิ่มเติมเข้าไปเอง (added sugar) ส่วนใหญ่แล้วน้ำตาลประเภทนี้ (มักพบเป็นน้ำตาลซูโครส)ไม่ได้เป็นน้ำตาลที่มาตามอาหารจากธรรมชาติ แต่เป็นน้ำตาลที่เติมเพิ่มเข้ามาเพื่อให้รสชาติที่ดียิ่งขึ้น หวานขึ้น สามารถเจอน้ำตาลประเภทนี้ได้ในขนมต่าง ๆเช่น ลูกอม ขนมขบเคี้ยว คุกกี้ ไอศกรีม และยังเป็นส่วนผสมที่ใส่ในอาหารอีกหลายชนิด ทั้งขนมปัง ซีเรียล และซอสมะเขือเทศเมื่ออาหารหลากหลายอย่างมีการพบน้ำตาลที่ใส่เพิ่มเติมเข้าไป อาจทำให้เราบริโภคน้ำตาลเกินความจำเป็นในแต่ละวันโดยไม่รู้ตัว“การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน และเบาหวานได้” Kate Patton RD, LD นักกำหนดอาหารจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกากล่าวเสริมผู้หญิง ควรบริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 100 แคลอรี่ (ุ6 ช้อนชา หรือ 25 กรัม) ต่อวันผู้ชาย ควรบริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 150 แคลอรี่ (9 ช้อนชา หรือ 36 กรัม) ต่อวันไขมัน VS น้ำตาล อะไรแย่ต่อสุขภาพมากกว่ากัน ?คำตอบคือ ไม่ว่าจะเป็นไขมัน หรือน้ำตาล หากรับประทานในส่วนที่เป็นไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และน้ำตาลที่เติมเพิ่มเพื่อเสริมรสชาติล้วนแล้วแต่ไม่ดีต่อร่างกายด้วยกันทั้งคู่นอกจากนี้ลองสังเกตบนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี เพราะอาหารที่เขียนว่า ไขมันต่ำ (low fat) อาจมีน้ำตาลเพิ่มเติมสูง หรืออาหารที่มีน้ำตาลต่ำ (low sugar)อาจพบว่ามีไขมันอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์สูงได้ ดังนั้นควรสังเกตฉลากบรรจุภัณฑ์ให้ดี เพื่อเลือกอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลที่ไม่ดีต่อร่างกายให้ต่ำเข้าไว้แค่นี้ก็จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ง่าย ๆ แล้วล่ะ
Comments